เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงพรหมจรรย์ผ่องใสควรดื่มด้วยอำนาจ
แห่งอินทรีย์ พละโพชฌงค์และองค์แห่งมรรคตามลำดับแห่งโพธิปักขิยธรรมมี
อินทรีย์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงความผ่องใสแห่งพรหมจรรย์อันตั้ง
อยู่ในที่สุดอีก จึงทรงการทำมรรคให้เป็นธรรมถึงก่อน เพราะมรรคเป็น
ประธาน แล้วจึงทรงแสดงองค์แห่งมรรค โพชฌงค์ พละและอินทรีย์.
บทมีอาทิว่า อาธิปเตยฺยฏฺเฐน อินฺทฺริยา มณฺโฑ อินทรีย์เป็น
ความผ่องใส เพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ คือ อินทรีย์เป็นโลกิยะและโลกุตระ
เป็นความผ่องใส ตามที่ประกอบไว้. พึงทราบบทนั้นโดยนัยดังกล่าวแล้วใน
หนหลัง.
อนึ่ง ในบทนี้ว่า ตถฏฺเฐน สจฺจ มณฺโฑ สัจจะเป็นความ
ผ่องใส เพราะอรรถว่าเป็นสัจจะแท้ พึงทราบว่าท่านกล่าวว่า สัจจญาณเป็น
สัจจะ เพราะไม่มีทุกขสมุทัย เป็นความผ่องใส ดุจในมหาหัตถิปทสูตร.
จบอรรถกถามัณฑเปยยกถา
และ
จบอรรถกถามหาวรรค


รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ญาณกถา 2. ทิฏฐิกถา 3. อานาปานกถา 4. อินทริยกถา
5. วิโมกขกถา 6. คติกถา 7. กรรมกถา 8. วิปัลลาสกถา 9. มรรคกถา
10. มัณฑเปยยกถา และอรรถกถา.
นิกายอันประเสริฐนี้ เป็นวรมรรคอันประเสริฐที่หนึ่ง ไม่มีวรรคอื่น
เสมอท่านตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล.

ยุคนัทธวรรค


ยุคนัทธกถา


ว่าด้วยมรรค 4


[534] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูก่อน-
อาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา
ด้วยมรรค 4 ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค 4
เป็นไฉน.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ
เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรค
นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้
มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละ
สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.